Search This Blog

สายสีส้มอลเวง-สั่งแก้ทีโออาร์ รฟม.ชี้ต้องการเชี่ยวชาญใต้ดิน - ไทยรัฐ

ronametro.blogspot.com

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 21 ส.ค. ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยมีนายกิตติกร ตันเปาว์ รักษาการรองผู้ว่าการวิศวกรรมและก่อสร้าง รฟม. เป็นประธาน ทั้งนี้ ก่อนการประชุมมีผู้แทนของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บีทีเอส 1 ในกลุ่มที่ซื้อซองประกวดราคาโครงการดังกล่าวมายื่นหนังสือที่สำนักผู้ว่าการ รฟม. เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงและคัดค้านกรณีมีการเสนอขอปรับปรุงแก้ไขเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการ

แก้ทีโออาร์ได้ไม่ขัด ก.ม.

การประชุมใช้เวลาราว 3 ชั่วโมง จึงเสร็จสิ้น โดยนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยแทนคณะกรรมการคัดเลือกฯ ว่า การประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ ครั้งนี้ เนื่องจาก รฟม.ต้องตอบคำถามจากผู้ซื้อซองเอกสารมีทั้งหมด 10 ราย ที่ส่งเข้ามาสอบถามซึ่งมีประเด็นสอบถามหลากหลายและคณะกรรมการจะต้องตอบชี้แจงให้ทราบก่อนวันที่ 24 ส.ค.นี้ ส่วนกรณีผู้ซื้อซองเอกสารรายหนึ่งส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรม– การนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เสนอให้ปรับแก้ไขเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โดยให้นำซองเทคนิคมาคิดคะแนนรวมกับซองการเงินนั้น คณะกรรมการพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวแล้ว พบว่า การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสามารถทำได้ และไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือระเบียบใดๆ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับโครงการมากที่สุด

รับเป็นครั้งแรกที่ รฟม.ทำ

ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ลักษณะงานก่อสร้างเป็นอุโมงค์ใต้ดินตลอดเส้นทาง รวมอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา รฟม.จึงต้องการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์มากกว่า ดังนั้นที่ประชุมคณะกรรมการ

วันนี้มีมติเห็นชอบเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่โดยให้พิจารณาซองเทคนิคมาคิดคะแนนรวมกับซองการเงิน โดยกำหนดสัดส่วนการให้คะแนน 30/70 หากรายใดได้คะแนนรวมสูงสุดก็จะได้รับการคัดเลือก เปรียบเทียบวิธีเดิมการพิจารณาจะแยกซองเทคนิค หากผ่านตามเกณฑ์ จึงจะเปิดซองการเงิน โดยผู้ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดจะได้รับการคัดเลือก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขครั้งนี้ถือว่าเป็นโครงการแรกที่ รฟม.จะดำเนินการ รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นๆในอนาคตก็จะใช้เงื่อนไขดังกล่าวด้วย

เลื่อนยื่นซองเป็น 6 พ.ย.63

นายภคพงศ์กล่าวว่า รฟม.ยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขดังกล่าว ไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแต่อย่างใด คาดว่าในสัปดาห์หน้าจะออกหนังสือแก้ไขเอกสารเพิ่มเติมส่งให้ผู้ที่ซื้อซองเอกสาร รวมถึงขยายเวลาการยื่นซองเอกสารออกไปอีก 70 วัน จากเดิมวันที่ 23 ก.ย.นี้ เป็นวันที่ 6 พ.ย.2563 เพื่อให้ผู้ที่ซื้อซองเอกสารมีเวลาในการจัดเตรียมเอกสารข้อมูล โดยจะออกหนังสือ อย่างไรก็ตาม หากผู้ซื้อซองเอกสารประกวด ราคาเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขครั้งนี้ไม่เป็นธรรมก็มีสิทธิ์ฟ้องร้องได้เช่นกัน

BTS ชี้ไม่เคยมีใครทำ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับหนังสือที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ยื่นต่อ รฟม. ระบุว่า ด้วยได้ทราบว่ามีผู้ที่ซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี รายหนึ่งได้ทำหนังสือเพื่อให้การปรับเปลี่ยนและเปรียบเทียบข้อเสนอเกี่ยวกับผู้ที่จะได้รับการประเมินให้เป็นผู้ชนะการคัดเลือก โดยเสนอว่าไม่ควรพิจารณาให้ผู้ที่เสนอผลประโยชน์ทางการเงินสูงสุดเป็นผู้ชนะการคัดเลือก แต่ควรพิจารณาปัจจัยและผลประโยชน์อื่นๆ เช่น ข้อเสนอด้านเทคนิค ร่วมด้วย จึงขอเรียนถามการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เนื่องจากหากเป็นความจริง บริษัทเห็นว่า ถ้ามีการปรับเปลี่ยนวิธีการประเมินข้อเสนอ จะถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสาระสำคัญ และไม่เคยมีการดำเนินการลักษณะนี้กับโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนมาก่อน

เป็นช่องทางเอื้อประโยชน์

บริษัทเห็นว่าผู้ที่จะยื่นขอเสนอโครงการนี้ได้จะต้องผ่านเกณฑ์ด้านต่างๆของ รฟม. ซึ่งเป็นบริษัทหรือกลุ่มบริษัทที่มีศักยภาพในการดำเนินงานสูง ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่บริษัทที่ผ่านเกณฑ์จะไม่ทำตามข้อเสนอที่ยื่นต่อ รฟม. ที่สำคัญการพิจารณาการคัดเลือกโดยใช้ข้อเสนอทางเทคนิค จะเป็นช่องทางที่ส่อไปในทางไม่สุจริต ไม่เป็นธรรม หรืออาจเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง การพิจารณาผู้เสนอผลประโยชน์ทางการเงินสูงสุดให้กับรัฐให้เป็นผู้ชนะการประมูล จึงเป็นการก่อประโยชน์สูงสุดต่อรัฐโดยแท้ และมีความโปร่งใสเป็นธรรมมากที่สุด บริษัทจึงเห็นว่าเป็นการไม่สมควร ถ้าหากมีการปรับแก้วิธีการประเมินข้อเสนอดังกล่าว

นอกจากนี้ บริษัทเห็นว่า แม้การร่วมลงทุนครั้งนี้จะมิใช่การจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานของรัฐ แต่การยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการในข้อเท็จจริงข้างต้น เทียบเคียงได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ ซึ่งแม้ไม่ได้มีกำหนดไว้ในกฎหมายร่วมลงทุนก็ตาม คณะกรรมการควรต้องนำกฎกระทรวงการคลัง กำหนดเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานของรัฐที่ใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ พ.ศ. 2560 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และถือเป็นการอุทธรณ์ที่ไม่สามารถกระทำได้

เผยอิตาเลียนไทยเสนอ

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ บมจ.อิตาเลียนไทย 1 ในบริษัทที่ซื้อซองประกวดราคา มีหนังสือถึง ผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เมื่อ 7 ส.ค.63 สรุปว่า โครงการเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินในฝั่งตะวันตก ผ่านใจ กลางเมือง และเขตเกาะรัตนโกสินทร์ จำเป็นต้องใช้เทคนิคการก่อสร้างชั้นสูง การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในครั้งนี้ ไม่ใช่การจัดซื้อจัดจ้างตามปกติ แต่เป็นการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนกับรัฐ ดังนั้นจึงไม่ควรพิจารณาผู้ชนะการคัดเลือกเป็นผู้ที่เสนอผลประโยชน์สูงสุดทางการเงินเท่านั้น แต่ควรพิจารณาปัจจัยและประโยชน์อื่นๆด้วย เช่น ข้อเสนอด้านเทคนิค...จึงขอให้ สคร. มอบหมายให้กรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) พิจารณาปรับปรุงการประเมินข้อเสนอเพื่อหาผู้ชนะการคัดเลือก.

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)



"รถไฟฟ้าใต้ดิน" - Google News
August 22, 2020 at 09:10AM
https://ift.tt/3aMfWzM

สายสีส้มอลเวง-สั่งแก้ทีโออาร์ รฟม.ชี้ต้องการเชี่ยวชาญใต้ดิน - ไทยรัฐ
"รถไฟฟ้าใต้ดิน" - Google News
https://ift.tt/36uhhJn
Home To Blog


Bagikan Berita Ini

0 Response to "สายสีส้มอลเวง-สั่งแก้ทีโออาร์ รฟม.ชี้ต้องการเชี่ยวชาญใต้ดิน - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.